วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

นำเทคโนโลยี ICT มาประยุกต์ใช้กับ E-learning










       E-Learning นับเป็นนวัตกรรมใหม่ทางการศึกษาที่มากับ ICT และ WWW. ใน Glossary ของ http://www.cybermediacreations.com/elearning/glossary.htm ได้ให้ความหมายของ E-learningไว้

       สรุปได้ว่าเป็นกระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูลและสร้างและแลกเปลี่ยนความรู้โดยผ่านช่องทางการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงต่างๆเช่น อินเตอร์เน็ต ระบบการจัดการความรู้ ในลักษณะที่ก่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้ ได้ทุกที่ทุกเวลา
ในช่วงปี 2005 E-learning ไม่ได้ถูกมองว่าเป็นเพียงเครื่องมือเสริมในการจัดการเรียนการสอนเท่านั้น แต่กลุ่มบริษัท ICT ที่เป็นผู้ผลิตโปรแกรม E-Learning กลับมองว่าในอนาคต E-learning จะมาแทนที่เพราะสามารถสนองตอบต่อความต้องการของผู้เรียนที่จะเรียนรู้และค้นหาข้อความรู้ได้อย่างกว้างขวางจากการเรียนโดยใช้ฐานข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต และขณะเดียวกันรูปแบบการเรียนการสอนในชั้นเรียนแบบเดิมจะบรรลุเป้าหมายได้ก็ต้องอาศัยระบบการเรียนเป็น E-Learning อีกส่วนหนึ่งด้วย
พัฒนาการที่เกิดตามมาก็คือ เกิดการพัฒนา Software ต่างๆ ที่ช่วยให้ผลิต E-learning Progarm ได้รวดเร็ว และตรงความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด โดยผู้เชี่ยวชาญ ในงบประมาณที่น้อยที่สุด ตามมาตรฐานการสร้าง E-Learning ที่เรียกว่า SCROM (Sharable Content Object Reference Model หมายถึง มาตรฐานการเรียนรู้บนฐานของเทคโนโลยี) ของ ADL ( Advance Distributed Learning)
URL อ้างอิง
http://www.cybermediacreations.com/cbt/overview.htm

จุดประสงค์ของการพัฒนา SCROM ก็เพื่อ
1. ให้เกิดการนำกลับมาใช้ใหม่ได้ทั้งผู้สร้าง E-Learning และผู้เรียนสามารถเลือก นำเนื้อหาหรือสิ่งที่น่าสนใจใน E-Course ต่าง ๆ มารวมเป็น Course ใหม่ได้
2. จัด E- Learning Program ต่าง ๆ ให้เป็นหมวดหมู่ตามเนื้อหาและง่ายต่อการค้นหา
3. เพื่อให้ Course ต่าง ๆสามารถใช้ได้ในการเรียนที่ต่างระบบกัน
4. เนื้อหาสาระของ Course ต่าง ๆยังคงอยู่แม้ว่าเทคโนโลยีที่ใช้จะเปลี่ยนไป
URL อ้างอิง
http://www.cybermediacreations.com/cbt/scrom.htm

      ส่วน Rapid E-Learning ซึ่งมีความหมายกว้าง คือ การสร้าง E-Learning Program ที่ใช้เวลาน้อยที่สุดและเร็วที่สุด เพราะธรรมดาแล้วการว่าจ้างบริษัทเหล่านี้ สร้าง E-learning แบบธรรมดา จะมีค่าใช้จ่ายอยู่ระหว่าง 10,000$-50,000$ ต่อ E-learning 1 ชั่วโมง สำหรับโปรแกรมที่ใช้ได้แก่ Macromedia Breeze, Articulate, Lersus, SNAP! Studio, Content Point, Webex, and mindflash
http://www.learningcircuits.org/2005/jan2005/archibald.htm
สิ่งที่น่าสนใจตรงนี้ก็คือหากเราสามารถเลือก E- Course ที่ดีแล้วมาจัดเรียงเนื้อหาให้สอดคล้องกับ เค้าโครงของบทเรียนที่เราเตรียมไว้นอกจากจะประหยัด แล้วยังมีสื่อการเรียนที่มีคุณภาพดีได้โดยไม่เปลืองเวลา เช่น E-Course online ของ BBC BBC English for Business online Free Course

สิ่งที่ตามมาจากการใช้ E-Learning
มุมมองเกี่ยวกับตัวผู้สอนที่เปลี่ยนไป
1. ผู้สอนต้องเปิดใจรับนวัตกรรม E-Learning เปลี่ยนทัศนคติต่อ Technology โดยทั่วไปผู้สอนมักจะกลัวการเปลี่ยนแปลง Technology ที่เปลี่ยนไว และต้องก้าวให้ทัน Technology จนเกิดโรคกลัวเทคโนโลยีที่เรียกว่า Technophobia
2. ต้องปรับตัวใหม่ให้เป็นทั้ง Learner Instructor และ Designer
URL อ้างอิง
http://www.learningcircuits.org/2000/mar2000/mar2000_elearn.html
3. ใช้ Blend Approach ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างรูปแบบการสอนทั้ง 3 อย่างเข้าด้วยกันแต่มีบทบาทต่างไปตามวัตถุประสงค์ที่ได้ออกแบบไว้ เช่น
3.1. F2F ( Face to Face - ILT Intructor Led Training) เป็นช่องทางที่ผู้สอนจะช่วยกวดขันหรืออธิบายถึง concept ในการทำงานหรือตกลงกติการ่วมกัน
3.2. Synchronous learning มีปฏิสัมพันธ์ระว่างผู้สอนและผู้เรียน ในเวลาที่กำหนดไว้ตรงกัน ผ่านช่องทางต่าง เช่น audio- or video conferencing, Internet telephony, หรือ two-way live broadcasts
3.3. Asynchronous learning ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา และมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนหรือผู้สอนได้โดยผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น Internet or CD-ROM, Q&A mentoring, online discussion groups, and email. เพื่อให้เกิดการปรึกษาหารือให้ลักษณะงานกลุ่ม เช่น การเรียนในรายวิชา 162661 ที่เรียนอยู่นี้ หรือในการออกแบบ หรือเกิดหลักสูตรแบบใหม่ๆ เช่น Chula Online
ผู้สอนสามารถออกแบบสื่อที่ใช้การเรียนการสอนก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและจุดประสงค์ของการเรียนว่าจะต้องการให้ผู้เรียนเกิดทักษะด้านใด ในปัจจุบัน Blend Approach มุ่งให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะพื้นฐานที่เป็น High Technology มากขึ้นเช่น Web-based tutorial, e-books
URL อ้างอิง
http://www.learningcircuits.org/glossary.htm
http://www.learningcircuits.org/2002/may2002/elearn.html

รูปแบบการศึกษาที่เปลี่ยนไปเมื่อนำ E-Learning เข้ามาใช้
Distance learning (DL)
หลายคนมอง DL เหมือนกับการสอนห้องเรียนคือสอน แบบ F2F แต่ต่างตรงที่เทคโนโลยี แต่ความจริงแล้วไม่ใช้ DLนั้น ต้องมีสื่อที่หลากหลาย มีวิธีการนำเสนอเนื้อหา มีการออกแบบรายวิชา มีวิธีการประเมินผลผู้เรียน และมีสิ่งที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
URL อ้างอิง
http://www.learningcircuits.org/2000/jul2000/jul2000_elearn.html

Web-based training
Web-based training เป็นการออกแบบการเรียนรู้โดยใช้ฐานข้อมูลจาก website เป็นหลัก ลักษณะการโดยรวมจะเหมือนกับ DL แต่เราเพิ่มช่องทางการสื่อสารให้ผู้เรียนโดยการ web เป็นหลัก เช่น เราเพิ่ม Link ต่างๆ ที่น่าสนใจสำหรับผู้เรียนได้ค้นคว้าเพิ่มเติม เปิดช่องทางให้นักศึกษาได้ ปรึกษาหารือเนื้องานได้อย่างอิสระ ทั้งสื่อสารกับผู้สอน สื่อสารกับกลุ่มเพื่อนที่สนใจในเรื่องเดียวเกิดเป็น สังคมการเรียนรู้ ( Learning Community) น่าสนใจตรงที่เกิดเครือข่ายการเรียนรู้ที่อาจจะแตกออกไปจากบทเรียนตามความสนใจของแต่ละคน
URL อ้างอิง
http://www.learningcircuits.org/2001/jul2001/elearn.html

Distributed learning
Distributed learning ไม่ได้มาแทน DL แต่เป็นรูปแบบการเรียนการสอนในแนวคิดที่ว่าด้วยการ “ส่งแหล่งข้อมูล” โดยที่ผู้สอน ผู้เรียนและเนื้อหาหรือสื่อการเรียนการสอนอยู่ต่างที่กัน ไม่ได้รวมไว้ด้วยกัน และการเรียนการสอนสามารถเกิดขึ้นเมื่อไรก็ได้แม้จะต่างเวลา และสถานที่ เป็นการรวมเอาการเรียนการสอนทุกรูปแบบไว้ด้วยกันเพื่อให้เกิดบริบทของห้องเรียนเสมือนได้ทุกที่ทุกเวลาอย่างสมบูรณ์แบบ (Maureen Bowman California State University)
URL อ้างอิง
http://techcollab.csumb.edu/techsheet2.1/distributed.html


มุมมองเกี่ยวกับตัวผู้เรียนเปลี่ยนไป
        ผู้เรียนได้เรียนรู้ว่าเขาสามารถเรียนรู้ และก้าวทันโลกที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาได้ด้วยตัวเอง
(Learner-Centered World) โดยที่ผู้สอนก็ต้องปรับมุมมองที่มีต่อตัวผู้เรียนและตนเองโดยสร้างบริบทให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตัวเองผ่านสื่อต่าง ๆ เป็นขั้นๆไป ในแบบที่เขาพอใจเหมาะกับตัวเขา เป้าหมายเพื่อให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาคุณภาพในกระบวนการเรียนรู้ของตนได้อย่างต่อเนื่อง บรรลุวัตถุประสงค์การเรียน สนุกกับการทำแบบฝึกหัด และรู้จะนำความรู้ไปประยุกต์ใช้อย่างไร รู้ที่ถามคำถามและหาคำตอบ เข้าใจและรู้วิธีการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ได้เรียนรู้ผ่านกลุ่ม และรู้ที่จะขอความช่วยเหลือจากผู้สอน
URL อ้างอิง
http://www.learningcircuits.org/2000/jun2000/jun2000_elearn.htm


     ในส่วนของการมาใช้ประโยชน์ทางด้านการศึกษา หรือการเรียนการสอนนั้นในบางรายวิชา
เช่นวิชาทางประวัติศาสตร์นั้น มีครูผู้สอนในรายวิชานี้จำนวนมากมายที่คิดว่าไม่สามารถนำเอาเครื่องมือด้านคอมพิวเตอร์ หรือเทคโนโลยีทาง ICT เข้ามาใช้ได้เลย เพราะว่ารายวิชาดังกล่าวเนื้อหาวิชาจะว่าด้วยเรื่องของศาสตร์การค้นหาความจริง และยังคิดว่าเป็นการยากมาก ๆ ในการพยายามนำสิ่งทั้งสองอย่างมาอยู่ด้วยกัน แต่แท้ที่จริงแล้วมีช่องทางที่จะนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ อาทิเช่น บางทีอาจใช้ในเรื่องของการประมวลผลระยะเวลาในการเกิด หรือการตาย หรือการจบสิ้น เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ นั้น ๆ หรือแม้กระทั่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่เริ่มต้นจนจบได้เป็นอย่างดี
URL อ้างอิง
http://www.solfease.com/timeline.htm


     และในเรื่องของการเรียนการสอนนั้นการนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์เข้าไปใช้งานก็จะมีส่วนช่วยให้การเรียนการสอนเกิดความน่าสนใจเช่นเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น วิชาประวัติศาสตร์ ซึ่งได้กล่าวว่าเป็นวิชาที่ยากในการนำมาอยู่ด้วยกัน โดยจะยกตัวอย่างในบทเรียนที่เกี่ยวกับสงคราม หรือความขัดแย้ง เพราะถ้าให้ผู้เรียนได้ซาบซึ้ง หรือเข้าถึงเหตุการณ์แล้วจะรับทราบต้นเหตุ และของการเกิดเพื่อจะได้หาทางหลีกเลี่ยงในการปัจจุบัน ถ้าใช้สื่อการสอนในลักษณะเดิม ๆ ก็คือสื่อแบบรูปภาพ หรือตัวหนังสือที่ไม่มีการเคลื่อนไหว ความน่าสนใจในวิชาดังกล่าวก็จะเป็นแบบเดิม ๆ คือไม่มีการพัฒนาทำให้ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่าย ไม่ความเข้าใจหรือซาบซึ้งเท่าที่ควร ดังนั้นในการนำโปรแกรมไมโครซอร์ฟเพาเวอร์พอยร์เข้ามาจัดทำเป็นสื่อที่มีความเคลื่อนไหว และมีเสียงให้เกิดความเร้าใจ ซึ่งในเว็บได้นำเสนอตัวอย่างและทำให้การเรียนการสอนน่าสนใจยิ่งขึ้น

URL อ้างอิง
http://www.teachnet-uk.org.uk/2005%20Projects/P_History-Henry%20VIII/Henry%20viii/project-resources.htm
http://www.microsoft.com/Education/PPTTutorial.mspx

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น