วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553

การดูแลเมื่อความดันสูง


ความดันโลหิตสูงนี้ หมายถึงแรงดันของกระแสเลือดที่กระทบต่อผนังหลอดเลือดแดง อันเกิดจากการสูงฉีดของหัวใจ ค่าที่วัดได้ 2 ค่า คือความดันช่วงบน (แรงดันขณะที่หัวใจบีบตัว) และความดันช่วงล่าง (แรงดันขณะหัวใจคลายตัว)

การวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูง รวมทั้งติดตามผลการรักษาที่แน่นอนคือ การตรวจวัดความดันโลหิต การสังเกตดูอาการอย่างเดียวมันไม่แน่นอน เนื่องจากโรคนี้ส่วนมากจะไม่แสดงอาการ คนทั่วไปจึงเข้าใจผิดว่าความดันสูงจะปวดหัวหากตอนไหนไม่ปวดคิดว่าความดันปกติจึงไม่ทานยาต่อเนื่องตามแพทย์บอก จริงๆแล้วความดันโลหิตสูงที่แสดงอาการปวดศรีษะนั้นเป็นเพียงส่วนน้อย และอาการปวดศัรษะส่วนใหญ่เกิดจากความเครียด

เพราะฉะนั้น ถึงแม้ว่าจะไม่แสดงอาการปวดศีรษะ ก็มิได้หมายความว่า ความดันไม่สูง ดังนั้นผู้ป่วยไม่ควรหยุดนาเอง ถึงแม้ว่ารู้สึกสบายดีหรือความดันลดลงแล้วก็ตาม การลกยาหรือหยุดยาควรให้หมอผู้รักษาเป็นผู้พิจารณา เนื่องจากหากเราปล่อยให้ความดันโลหิตสูง และต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน อาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ เช่น โรคที่เกี่ยวกับหัวใจ สมอง ตา ไต หลอดเลือดแดงใหญ่ และหลอดเลือดแดงส่วนปลาย เป็นต้น

ในการรักษานอกจากจะรักษาโดยวิธีการใช้ยา ยังมีการใช้วิธีพฤติกรรมบำบัดซึ่งวิธีนี้จะให้ร่วมกับการใช้ยารักษาความดันโลหิตสูงที่แพทย์ผู้รักษาสั่งจ่าย ดังนั้นจะขอแนะนำเกี่ยวกับข้อปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งถือเป็นหัวใจของการักษาโรคนี้คู่กับการใช้ยาลดความดัน ได้แก่

1. ควรจำกัดปริมาณ เกลือโซเดียมกินไม่เกินวันละ 2.4 กรัม (เทียบเท่าเกลือแกง 1 ช้อนชา) โดยงดการกินอาหารเค็ม เนื้อเค็ม ไขเค็ม น้ำพริก กะปิ ปลาร้า ของดองเกลือควรกินอาหารทีมีรสจืดที่สุดเท่าที่กินได้เวลาเลือกอาหารกระป๋องหรืออาหารสำเร็จรูปให้เลือกที่มีปริมาณโซเดียมต่ำ

2. ควรลดน้ำหนัก โดยการงดกินอาหารที่ไม่ไขมันชนิดอิ่มตัว งดของทอด เนื้อ หรือหมูติดมัน ควรกินอาหารที่ทำโดยการต้ม นึ่ง และงดอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล ควรกินผักและผลไม้ให้มาหขึ้น


ที่มา : นิตยสาร alternative health

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น